วันศุกร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2556



 การคัดเลือกพันธุ์

การคัดเลือกพันธุ์ แบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ

1.การคัดเลือกพันธุ์ผสม มนุษย์ได้ใช้วิธีการคัดเลือกพันธุ์ผสมกับพืช และสัตว์มากมายหลายชนิด โดยต้องการเพิ่มคุณค่าของพืชและสัตว์ให้ตรงตามความต้องการของมนุษย์ เช่น ดอกไม้ ผลไม้ พืชผักหลายพันธุ์ได้รับการผสมให้มีความต้านทานต่อแมลง และโรคต่างๆ การผสม และการคัดเลือกวัวพันธุ์นม และวัวพันธุ์เนื้อให้ได้ผลผลิตสูงกว่าวัวพันธุ์พื้นเมือง และมีความต้านทานโรคต่างๆ ได้ดีกว่าพ่อพันธุ์ และแม่พันธุ์จากต่างประเทศ

การคัดเลือกพันธุ์ผสม มี 2 วิธี คือ

1.1 การคัดเลือกพันธุ์ผสมที่เกิดจากการผสมในสายพันธุ์เดียวกัน (Inbreeding) ทำได้โดยนำสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน 2 ตัว มาผสมกัน ลูกผสมที่เกิดจากการผสมในสายพันธุ์เดียวกันเช่นนี้จะมีความคล้ายคลึงกับรุ่นพ่อแม่มาก

ข้อเสียของการผสมภายในสายพันธุ์เดียวกัน คือ

- ไปลดโอกาสของรุ่นลูกที่จะได้รับการถ่ายทอดลักษณะใหม่ๆเกิดขึ้น

- ทำให้ยีนที่ควบคุมลักษณะด้อยส่วนที่ไม่ดี มีโอกาสปรากฏได้มาก ทำให้เกิดผลเสียต่อพืชหรือสัตว์ที่ได้รับการคัดเลือกพันธุ์ เช่น ทำให้มีขนาดเล็ก มีผลผลิตต่ำ ทำให้ความสามารถในการสืบพันธุ์ต่ำลง และทำให้ลักษณะที่ผิดปกติปรากฏได้มาก

1.2 การคัดเลือกพันธุ์ผสมที่เกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ (Hybridization) เป็นการผสมที่นำสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะทางพันธุกรรมแตกต่างกันมาผสมกัน ได้ลูกผสมที่มีลักษณะแตกต่างกัน แล้วจึงคัดเลือกพันธุ์ลูกผสมที่ได้รับลักษณะที่ดีที่สุดจากพ่อแม่มาเพาะพันธุ์ต่อไป
  
2.การคัดเลือกพันธุ์พืชใหม่จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช จะพบว่า ผลของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจะได้ต้นพืชที่สมบูรณ์ มีลักษณะเหมือนกันจำนวนมาก แต่ต้นอ่อนทีได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เมื่อเลี้ยงต่อๆไปหลายๆรุ่น จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือกลายพันธุ์ไปตามสภาพแวดล้อมจำนวนมาก โดยไม่ต้องใช้สารเคมีหรือกัมมันตรังสีเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการกลายพันธุ์


วันอังคารที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2556

โปรแกรม Microsoft Word 2010 มีรูปร่างหน้าตา และส่วนประกอบของโปรแกรมที่เหมือน และแตกต่างจาก Microsoft Word 2007 ดังภาพด้านล่างนี้
components-microsoft-word-2010
          1. แถบชื่อเรื่อง (Title Bar) = เป็นส่วนที่ใช้แสดงชื่อโปรแกรม และชื่อไฟล์ที่ได้เปิดขึ้นมา
          2. แถบเครื่องมือด่วน (Quick Access) = เป็นส่วนที่ใช้แสดงคำสั่งที่ใช้งานบ่อย
          3. ปุ่ม File (แฟ้ม) = เป็นส่วนที่ทำหน้าที่คล้ายกับปุ่ม Office ใน Microsoft Office 2007 คือ จัดเก็บคำสั่งที่ใช้ในการทำงานเอกสาร เช่น New Open Save และ Print เป็นต้น
          4. ปุ่มควบคุม = เป็นส่วนที่ใช้ควบคุมการเปิด หรือปิดหน้าต่างโปรแกรม
          5. ริบบอน (Ribbon) = เป็นส่วนที่ใช้แสดงรายการคำสั่งต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำงานกับเอกสาร
          6. พื้นที่การทำงาน = เป็นส่วนที่ใช้ในการแสดงรายละเอียดต่าง ๆ ขึ้นภายในเอกสาร
          7. แถบสถานะ (Status Bar) = เป็นส่วนที่ใช้แสดงจำนวนหน้ากระดาษ และจำนานตัวอักษรที่ใช้ในเอกสารหลังจากที่เราพิมพ์งานแล้ว เราก็ย่อมมีการจัดเก็บเอกสารนั้นไว้สำหรับการใช้งานในครั้งต่อไปด้วย ซึ่งการบันทึกเอกสารนั้น ก็มีอยู่ด้วยกันหลายรูปแบบ ซึ่งเราต้องเลือกบันทึกเอกสารให้เหมาะกับการนำไปใช้งานด้วย

          การบันทึกเอกสารใหม่
          1. คลิกปุ่ม แฟ้ม (File) > บันทึก (Save)


          2. เลือกสถานที่จัดเก็บไฟล์เอกสาร
          3. กำหนดชื่อไฟล์เอกสาร
          4. คลิกปุ่ม บันทึก (Save)
2

          การบันทึกเอกสารแบบสำเนา
          การบันทึกเอกสารแบบสำเนา เป็นการบันทึกไฟล์เอกสารเพื่อป้องกันกรณีฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้น เช่น การเปิดไฟล์เอกสาร หรือไฟล์สุญหาย เป็นต้น ซึ่งการบันทึกไฟล์ลักษณะนี้ทำได้โดย
          1. คลิกปุ่ม แฟ้ม (File) > บันทึกเป็น (Save As)
3

          2. เลือกสถานที่จัดเก็บไฟล์เอกสาร
          3. กำหนดชื่อไฟล์เอกสาร
          4. คลิกปุ่ม บันทึก (Save)
2





การตั้งค่าหน้ากระดาษแนวตั้ง และแนวนอน ใน Word 2010 พิมพ์
          การจัดวางหน้ากระดาษของเอกสาร สามารถทำได้ทั้งแนวตั้ง และแนวนอน ซึ่งมีวิธีการตั้งค่าหน้ากระดาษ ดังนี้
          1. คลิกแท็บ เค้าโครงหน้ากระดาษ (Page Layout)
          2. คลิกเลือก การวางแนว (Orientation) แล้วเลือกแนวการจัดวางหน้ากระดาษตามที่เราต้องการ

1

วันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ผู้จัดทำ

นิจวิภา กล้าหาญ

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1

ชื่อเล่น จ๋า

เกิดวันที่ 17 เดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2542

เรียนอยู่ โรงเรียนชุมชนบ้านพุเตย

ปัจจุบันอาศัยอยู่ 46 ม.7 ต.พุเตย อ.วิเชียรบุรี จ.เพชรบูรณ์

สีที่ชอบ สีเขียว

กีฬาที่ชอบ ฟุตบอล

อาหารที่ชอบ ต้มยำกุ้ง

เพื่อนที่ชอบมี  คน

1. ด.ญ. บุษยมาศ  ขอดคำ

2. ด.ญ.ปรียา  รัตนะ

3. ด.ญ.น้ำค้าง  เขียวหวาน

4. ด.ญ. ปาริฉัตร ขะนอก

5. ด.ญ. ศศิธร  หมั่นวงค์


วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555