วันศุกร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2556



 การคัดเลือกพันธุ์

การคัดเลือกพันธุ์ แบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ

1.การคัดเลือกพันธุ์ผสม มนุษย์ได้ใช้วิธีการคัดเลือกพันธุ์ผสมกับพืช และสัตว์มากมายหลายชนิด โดยต้องการเพิ่มคุณค่าของพืชและสัตว์ให้ตรงตามความต้องการของมนุษย์ เช่น ดอกไม้ ผลไม้ พืชผักหลายพันธุ์ได้รับการผสมให้มีความต้านทานต่อแมลง และโรคต่างๆ การผสม และการคัดเลือกวัวพันธุ์นม และวัวพันธุ์เนื้อให้ได้ผลผลิตสูงกว่าวัวพันธุ์พื้นเมือง และมีความต้านทานโรคต่างๆ ได้ดีกว่าพ่อพันธุ์ และแม่พันธุ์จากต่างประเทศ

การคัดเลือกพันธุ์ผสม มี 2 วิธี คือ

1.1 การคัดเลือกพันธุ์ผสมที่เกิดจากการผสมในสายพันธุ์เดียวกัน (Inbreeding) ทำได้โดยนำสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน 2 ตัว มาผสมกัน ลูกผสมที่เกิดจากการผสมในสายพันธุ์เดียวกันเช่นนี้จะมีความคล้ายคลึงกับรุ่นพ่อแม่มาก

ข้อเสียของการผสมภายในสายพันธุ์เดียวกัน คือ

- ไปลดโอกาสของรุ่นลูกที่จะได้รับการถ่ายทอดลักษณะใหม่ๆเกิดขึ้น

- ทำให้ยีนที่ควบคุมลักษณะด้อยส่วนที่ไม่ดี มีโอกาสปรากฏได้มาก ทำให้เกิดผลเสียต่อพืชหรือสัตว์ที่ได้รับการคัดเลือกพันธุ์ เช่น ทำให้มีขนาดเล็ก มีผลผลิตต่ำ ทำให้ความสามารถในการสืบพันธุ์ต่ำลง และทำให้ลักษณะที่ผิดปกติปรากฏได้มาก

1.2 การคัดเลือกพันธุ์ผสมที่เกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ (Hybridization) เป็นการผสมที่นำสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะทางพันธุกรรมแตกต่างกันมาผสมกัน ได้ลูกผสมที่มีลักษณะแตกต่างกัน แล้วจึงคัดเลือกพันธุ์ลูกผสมที่ได้รับลักษณะที่ดีที่สุดจากพ่อแม่มาเพาะพันธุ์ต่อไป
  
2.การคัดเลือกพันธุ์พืชใหม่จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช จะพบว่า ผลของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจะได้ต้นพืชที่สมบูรณ์ มีลักษณะเหมือนกันจำนวนมาก แต่ต้นอ่อนทีได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เมื่อเลี้ยงต่อๆไปหลายๆรุ่น จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือกลายพันธุ์ไปตามสภาพแวดล้อมจำนวนมาก โดยไม่ต้องใช้สารเคมีหรือกัมมันตรังสีเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการกลายพันธุ์


วันอังคารที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2556

โปรแกรม Microsoft Word 2010 มีรูปร่างหน้าตา และส่วนประกอบของโปรแกรมที่เหมือน และแตกต่างจาก Microsoft Word 2007 ดังภาพด้านล่างนี้
components-microsoft-word-2010
          1. แถบชื่อเรื่อง (Title Bar) = เป็นส่วนที่ใช้แสดงชื่อโปรแกรม และชื่อไฟล์ที่ได้เปิดขึ้นมา
          2. แถบเครื่องมือด่วน (Quick Access) = เป็นส่วนที่ใช้แสดงคำสั่งที่ใช้งานบ่อย
          3. ปุ่ม File (แฟ้ม) = เป็นส่วนที่ทำหน้าที่คล้ายกับปุ่ม Office ใน Microsoft Office 2007 คือ จัดเก็บคำสั่งที่ใช้ในการทำงานเอกสาร เช่น New Open Save และ Print เป็นต้น
          4. ปุ่มควบคุม = เป็นส่วนที่ใช้ควบคุมการเปิด หรือปิดหน้าต่างโปรแกรม
          5. ริบบอน (Ribbon) = เป็นส่วนที่ใช้แสดงรายการคำสั่งต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำงานกับเอกสาร
          6. พื้นที่การทำงาน = เป็นส่วนที่ใช้ในการแสดงรายละเอียดต่าง ๆ ขึ้นภายในเอกสาร
          7. แถบสถานะ (Status Bar) = เป็นส่วนที่ใช้แสดงจำนวนหน้ากระดาษ และจำนานตัวอักษรที่ใช้ในเอกสารหลังจากที่เราพิมพ์งานแล้ว เราก็ย่อมมีการจัดเก็บเอกสารนั้นไว้สำหรับการใช้งานในครั้งต่อไปด้วย ซึ่งการบันทึกเอกสารนั้น ก็มีอยู่ด้วยกันหลายรูปแบบ ซึ่งเราต้องเลือกบันทึกเอกสารให้เหมาะกับการนำไปใช้งานด้วย

          การบันทึกเอกสารใหม่
          1. คลิกปุ่ม แฟ้ม (File) > บันทึก (Save)


          2. เลือกสถานที่จัดเก็บไฟล์เอกสาร
          3. กำหนดชื่อไฟล์เอกสาร
          4. คลิกปุ่ม บันทึก (Save)
2

          การบันทึกเอกสารแบบสำเนา
          การบันทึกเอกสารแบบสำเนา เป็นการบันทึกไฟล์เอกสารเพื่อป้องกันกรณีฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้น เช่น การเปิดไฟล์เอกสาร หรือไฟล์สุญหาย เป็นต้น ซึ่งการบันทึกไฟล์ลักษณะนี้ทำได้โดย
          1. คลิกปุ่ม แฟ้ม (File) > บันทึกเป็น (Save As)
3

          2. เลือกสถานที่จัดเก็บไฟล์เอกสาร
          3. กำหนดชื่อไฟล์เอกสาร
          4. คลิกปุ่ม บันทึก (Save)
2





การตั้งค่าหน้ากระดาษแนวตั้ง และแนวนอน ใน Word 2010 พิมพ์
          การจัดวางหน้ากระดาษของเอกสาร สามารถทำได้ทั้งแนวตั้ง และแนวนอน ซึ่งมีวิธีการตั้งค่าหน้ากระดาษ ดังนี้
          1. คลิกแท็บ เค้าโครงหน้ากระดาษ (Page Layout)
          2. คลิกเลือก การวางแนว (Orientation) แล้วเลือกแนวการจัดวางหน้ากระดาษตามที่เราต้องการ

1